
เคยสังเกตหรือไม่ว่า การบริการตัวเอง หรือ Self Service เป็นกลยุทธ์ที่แทรกซึมอยู่ในหลายธุรกิจที่เราใช้บริการอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ที่มีสินค้าราคาแพงแค่ไหน ก็สามารถหยิบกลยุทธ์นี้มาใช้แบบเนียน ๆ ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะหากมองในมุมของ “การทำด้วยตัวเอง” อาจดูว่าเป็นการเสี่ยงที่ให้ลูกค้าลงมือทำมากกว่าได้รับบริการ แต่ที่จริงแล้ว กลับมีข้อดีมากกว่าที่เห็น วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับกลยุทธ์ Self Service คืออะไร มีข้อดีของการเลือกใช้ Self Service อย่างไร จึงสามารถตอบโจทย์สร้างผลประโยชน์ให้ทั้งต่อแบรนด์และลูกค้าได้
รู้จักกลยุทธ์ Self Service คืออะไร
เทคโนโลยี เป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีในรูปแบบอินเทอร์เน็ต ที่เราสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการด้วยตัวเองอย่างรวดเร็ว หรือการใช้สมาร์ตโฟนในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น การสั่งอาหารระยะไกลจากบ้าน ช็อปปิงออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมการเงิน ที่เราสามารถดำเนินการได้สะดวกด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาการเดินทาง ส่งผลให้ในหลายธุรกิจเริ่มปรับตัวและเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการบริการมากขึ้น
โดย Self Service เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกด้านการบริการ ที่สามารถตอบโจทย์ความสะดวกและรวดเร็วได้อย่างใจของผู้บริโภคได้ โดยลูกค้าสามารถเลือกรับบริการได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องรอคิวรับความช่วยเหลือจากพนักงาน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เป็นการบริการตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึง โต้ตอบ และดำเนินการต่าง ๆ ด้วยตัวเอง จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ข้อดีของการเลือกใช้กลยุทธ์ Self Service
ข้อดีของการใช้ Self Service ในมุมมองของธุรกิจ
- ช่วยประหยัดต้นทุน ในด้านความต้องการพนักงาน หรือทรัพยากร
- ช่วยลดขั้นตอนการบริการที่มีความยุ่งยาก หรือต้องรับมือกับลูกค้าหลากหลายประเภท
- ช่วยให้พนักงานมีเวลาสำหรับการบริการเคสลูกค้าที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น
- ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการทำงาน
ข้อดีของการใช้ Self Service ในมุมมองของลูกค้า
- ช่วยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ตามความสะดวก
- ช่วยให้ลูกค้าประหยัดเวลาในการรอคิวยาว โดยสามารถทำด้วยตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการนอกเวลาทำการปกติ หรือสามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
- ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการได้มากขึ้น

รู้จักกลยุทธ์ Self Service ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
ตู้กดสั่งอาหารอัตโนมัติที่ McDonald’s
McDonald’s ร้านฟาสต์ฟูดชื่อดังที่ได้หยิบเอากลยุทธ์ Self Service มาใช้งาน ผ่านเทคโนโลยีตู้ Kiosk สำหรับกดสั่งอาหารอัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้งานหรือลูกค้าสามารถกดสั่งอาหารที่ต้องการ และทำการชำระเงินผ่าน QR Code บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตด้วยตัวเองที่ตู้ได้เลย ซึ่งช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวรอสั่งอาหารที่เคาน์เตอร์ให้ยุ่งยาก
การซื้อสินค้าที่ IKEA
IKEA เชนค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านจากสวีเดน ที่นอกจากจะมีความโดดเด่นเรื่องการจัดโชว์รูมโซนต่าง ๆ ในรูปแบบของเขาวงกต เพื่อให้ลูกค้าได้เยี่ยมชมและเดินดูสินค้าในสาขานานขึ้นแล้ว ยังมีคลังสินค้าบริการตัวเอง (Self-serve Furniture Area) ซึ่งในจุดนี้ ลูกค้าจะสามารถหาและหยิบเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการและนำไปประกอบเฟอร์นิเจอร์ด้วยตัวเองที่บ้าน แทนที่จะให้ IKEA ทำให้ ซึ่งข้อดีของบริการ Self Service นี้ นอกจากช่วยประหยัดเวลาในการใช้บริการแล้ว การได้ประกอบสินค้าด้วยตนเอง ยังทำให้ลูกค้ารู้สึกภูมิใจและสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของที่ต้องใช้อย่างถนอมมากขึ้นอีกด้วย
บริการ Grab Self Pick-Up ของ Starbucks
Starbucks มีบริการ Self Pick-Up ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งเครื่องดื่มและอาหารล่วงหน้าได้ผ่านแอปพลิเคชัน Grab และไปรับที่ร้านสตาร์บัคส์ได้ภายใน 15 นาที โดยมักจะมาพร้อมโค้ดส่วนลดมากมาย และยังไม่มีค่าบริการจัดส่งอีกด้วย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าโดยไม่ต้องเสียเวลารอคิวที่หน้าร้าน และสามารถตอบสนองลูกค้าที่คุ้นชินกับการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันได้เป็นอย่างดี
มาเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยข้อดีของการเลือกใช้กลยุทธ์ Self Service กับตู้ Kiosk ระบบสั่งอาหารด้วยตัวเองจาก Can Innovation เราเป็นผู้จัดจำหน่ายและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Smart Food Services Solution ระบบจัดการร้านอาหารอัจฉริยะ ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้ออาหารและชำระเงินด้วยตัวเองได้สะดวกรวดเร็วผ่านตู้สั่งซื้อด้วยตัวเองแบบอัตโนมัติ ที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจอาหารทุกรูปแบบ พร้อมยกระดับบริการให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น สามารถรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้แล้ววันนี้ ที่อีเมล sales@caninnovation.co.th เบอร์โทรศัพท์ 096-036-6168 หรือแอดไลน์ https://lin.ee/y9jK0P4c